มาตรการเร่งรัดควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าพื้นที่ระบาด
การควบคุมป้องกันโรค
1.
เร่งรุดดำเนินการตรวจสอบยืนยันแหล่งข้อมูลของการเกิดโรค
แล้วดำเนินการสอบสวนโรค (Outbreak
investigation) โดยทันที เพื่อให้ทราบสาเหตุ
แหล่งที่มาของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
2.
ประสานงานแจ้งผู้/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบผลการสอบสวนโรคพิษสุนัขบ้า
3.
ปศุสัตว์ดำเนินการประกาศเป็นเขตโรคระบาด
ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และดำเนินการตามมาตรการใน พรบ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499
4.
กักสัตว์สงสัยดูอาการอย่างน้อย 10 วัน หากสัตว์ตาย ส่งหัวตรวจทางห้องปฏิบัติการ
5.
ประสานสำนักระบาดร่วมลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับหน่วยงานปศุสัตว์เพื่อหาแหล่งที่มาของสัตว์ที่เป็นต้นเหตุพื้นที่เสี่ยงผู้สัมผัสโรคเพิ่มเติม
6.
สาธารณอำเภอร่วมกับท้องถิ่นประสานเครือข่าย
อสม ดำเนินการติดตามค้นหาผู้สัมผัสหรือสงสัยว่าสัมผัสโรคทุกราย เพื่อให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ารักษาอย่างถูกต้องครบถ้วนตามเวชปฏิบัติ
7.
อสม.
เคาะประตูบ้านแจ้งเตือนประชาชนพบผลบวกโรคพิษสุนัขจากหัวสัตว์ที่ส่งตรวจ
เพื่อให้มีการเฝ้าระวังและค้นหาผู้สัมผัสเพิ่ม
8.
ปศุสัตว์อำเภอร่วมกับท้องถิ่นประสานเครือข่าย
อสป ดำเนินการติดตามค้นหาสัตว์สงสัย/ถูกหรือว่ากัด/สัมผัส
9.
ปศุสัตว์อำเภอร่วมกับท้องถิ่นประสานเครือข่าย
ดำเนินการปูพรมฉีดวัคซีนป้องกันสร้างภูมิคุ้มโรคพิษสุนัขบ้า และร่วมเฝ้าระวังโรค
10.
เฝ้าระวังในเชิงรุก
ส่งหัวสัตว์สงสัยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
11.
สนับสนุนข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
และให้ความรู้/ตระหนัก/ ทุกช่องทาง เช่น หอกระจายเสียง
เสียงตามสายป้ายประชาสัมพันธ์สติ๊กเกอร์ คู่มือ แผ่นพับ
แก่ประชาชนในพื้นที่รัศมีอย่างน้อย 3-5 กิโลเมตร และร่วมเฝ้าระวังโรคเป็นเวลาอย่างน้อย
6 เดือน หากพบสัตว์น่าสงสัยให้รดรีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ทราบให้ประชาชนในพื้นที่ระบาด
การมีส่วนร่วมของประชาชน
1.
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
กรมปศุสัตว์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายเฝ้าระวังสังเกตสัตว์หากพบสัตว์เลี้ยง/ต่างถิ่นมีนิสัยดุร้ายหรือมีอาการผิดปกติคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า
ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์หรืออาสาในพื้นที่ทันที
2.
ผู้ที่เลี้ยงสุนัขและแมวควรพาไปฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
และควรเลี้ยงในบริเวณบ้านไม่ปล่อยเดินเพ่นพ่าน ลดโอกาสสัมผัสกับสัตว์ต่างถิ่นหรือพเนจร
ตลอดจนกักสัตว์ที่กัดข่วนสัมผัสหรือสงสัยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
3.
หากสัตว์ตายไม่ทราบสาเหตุ
แจ้งเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างหัวสุนัขส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ ให้ข้อมูลสำคัญ
(ถ้ามี) เกี่ยวกับสัตว์ที่กัด เช่น ประวัติการฉีดวัคซีน
ที่มาของสุนัขให้กับผู้เสียหายและแพทย์ผู้ดูแลรักษา
4.
เพิ่มความระมัดระวัง ดูแลปกป้องเด็กและผู้เฒ่า
เลี่ยงการสัมผัสหรือถูกสัตว์กัดข่วน โดยท่องและปฏิบัติตามคาถา 5 ย.
อย่าแหย่ สัตว์ให้กลัวหรือตกใจ อาจถูกแว้งกัดได้
อย่าเหยียบ หัว ตัว
หาง ควรเดินด้วยความระมัดระวัง
อย่าหยิบ สิ่งของหรือจานข้าวที่สัตว์กำลังครอบครอง
อย่าแยก สัตว์ที่กำลังต่อสู้กัน ด้วยมือเปล่าอย่างเด็ดขาด
อย่ายุ่ง หรือสัมผัสกับสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะไม่รู้แหล่งที่มา
ข้อปฏิบัติของคนที่สัมผัสหรือถูกสัตว์กัดข่วน
1)
ชะล้างแผลด้วยน้ำเปล่าที่สะอาดและสบู่
2)
ทาแผลด้วยเบทาดีน
3)
กักสุนัขอย่างน้อย 10 วัน เพอสังเกตอาการผิดปกติของสุนัข
ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และเมื่อสุนัขเสียชีวิตให้นำหัวสุนัขส่งทางห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
4)
รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น และให้เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
และฉีดให้ครบตามกำหนดนัด ห้ามผิดนัด
การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่
ในฐานะประชาชนและเจ้าของสัตว์
1.
ผู้ที่เลี้ยงสุนัขและแมวควรนำสัตว์รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
(ปีแรก 2 ครั้งๆ แรกเมื่ออายุ 2 เดือน) และปฏิบัติตามกฎหมาย
พรบ. โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 และควรเลี้ยงในบริเวณบ้านไม่ปล่อยเดินเพ่นพ่าน
หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้ใส่สายจูงลดโอกาสสัมผัสกับสัตว์ต่างถิ่นหรือพเนจร
2.
เลี้ยงสุนัขให้อยู่ในบริเวณบ้าน
3.
เพิ่มความระมัดระวัง
ดูแลปกป้องเด็กและผู้เฒ่า เลี่ยงการสัมผัสหรือถูกสัตว์กัดข่วน โดยปฏิบัติตามคาถา 5
ย.
v อย่าแหย่ สัตว์ให้กลัวหรือตกใจ อาจถูกแว้งกัดได้
v อย่าเหยียบ หัว
ตัว หาง ควรเดินด้วยความระมัดระวัง
v อย่าหยิบ สิ่งของหรือจานข้าวที่สัตว์กำลังครอบครอง
v อย่าแยก สัตว์ที่กำลังต่อสู้กัน
ด้วยมือเปล่าอย่างเด็ดขาด
v อย่ายุ่ง หรือสัมผัสกับสัตว์อื่นๆ
โดยเฉพาะไม่รู้แหล่งที่มา
4.
หากถูกสัตว์กัด/ข่วน ให้รีบชะล้างแผลด้วยน้ำเปล่าที่สะอาดและสบู่
รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ครบถ้วนตามกำหนดนัด
5.
ตลอดจนกักสัตว์ที่กัดข่วนสัมผัสหรือสงสัยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กักสัตว์ที่กัดข่วนหรือสงสัยดูอาการผิดปกติอย่างน้อย
10 วัน ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
และหากสุนัขเสียชีวิตให้นำหัวสุนัขส่งทางห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
6.
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
กรมปศุสัตว์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายเฝ้าระวังสังเกตสัตว์หากพบสัตว์เลี้ยง/ต่างถิ่นมีนิสัยดุร้ายหรือมีอาการผิดปกติคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า
ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์หรืออาสาในพื้นที่ทันทีเพื่อเก็บตัวอย่างหัวส่งตรวจ
7.
หากสัตว์ตายไม่ทราบสาเหตุ
แจ้งเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างหัวสุนัขส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ ให้ข้อมูลสำคัญ
(ถ้ามี) เกี่ยวกับสัตว์ที่กัด เช่น ประวัติการฉีดวัคซีน
ที่มาของสุนัขให้กับผู้เสียหายและแพทย์ผู้ดูแลรักษา
ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์
1.
ดูแลป้องกันรักษาปฏิบัติตามคู่มือสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
2.
แนะนำผู้สัมผัส/ถูกสัตว์กักข่วนให้สังเกตอาการสัตว์ดังกล่าว
3.
ประสานแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตรวจสอบ
4.
หากพบผู้ป่วยที่สงสัยหรือเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าให้ประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที
ในฐานะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
1.
ประสานในส่วนที่เกี่ยวข้องทันทีในกรณีคนถูกสัตว์
กัดข่วน หรือพบคนป่วยที่สงสัย
2.
ค้นหาผู้สัมผัส/ถูกสัตว์ที่สงสัยกัดหรือข่วนทุกราย และติดตามให้ไปรับการฉีดวัคซีนครบถ้วนตามกำหนดนัด
3.
ร่วมสอบสวนโรคทุกกรณีที่พบโรคพิษสุนัขบ้าไม่ว่าในคนหรือสัตว์
4.
ร่วมกับท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์การรับรู้และ
คาถา 5
ย และเวชปฏิบัติ
ในฐานะของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์
1.
รับแจ้งและตรวจสอบสัตว์ที่กัดหรือข่วน
2.
เก็บหัวสัตว์ที่สงสัยไปยังห้องปฏิบัติการและแจ้งผลการตรวจให้ผู้ที่เกียวข้องได้ทราบเพื่อค้นหาผู้สัมผัสเพิ่มเติม
3.
ประกาศเป็นเขตโรคระบาดดำเนินการเข้าควบคุมสอบสวนโรคในสัตว์ตามมาตรการกรมปศุสัตว์
4.
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเบิกวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ให้ครอบคลุม
5.
ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยง
และกักสัตว์ที่สงสัยในที่ปลอดภัยเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน
6.
ร่วมกับท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การเลี้ยง/ดูแลสัตว์ที่ถูกต้อง
7.
เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนหลังพบผลบวกตัวสุดท้าย
ในฐานะของท้องถิ่น
1.
รับผิดชอบคุณภาพชีวิตของผู้เยี่ยมเยียน/ประชาชนมาในพื้นที่
2.
มีข้อมูลประชากรสุนัขและแมวในการวางแผนควบคุมป้องกันระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่
3.
ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่อย่างครอบคลุม
4.
ประสานเครือข่ายร่วมประเมินสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์
5.
สนับสนุนให้การสร้างภูมิคุ้มโรคพิษสุนัขบ้าครอบคลุมสัตว์เลี้ยงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
6.
ส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งในด้านความรู้ความชำนาญ
แก่อาสาสาธารณสุขและปศุสัตว์
ในการดำเนินกิจกรรมการสร้างภูมิคุ้มโรคพิษสุนัขบ้าสัตว์เพื่อปกป้องการเกิดโรคในคน
7.
สร้างเสริมภูมิคุ้มโรคให้กับกลุ่มเสี่ยง
ได้แก่ อาสาสมัครผู้จับสัตว์และฉีดวัคซีน ตลอดจนหน่วยไล่ล่า
และเก็บตัวอย่างหัวสัตว์
8.
สงเคราะห์และให้บริการรถรับส่งผู้ถูกสัตว์กัดข่วนหรือสัมผัส
ให้ได้รับการสร้างภูมิคุ้มโรคพิษสุนัขบ้าอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร
9.
จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและหน่วยเฉพาะกิจบูรณาการทุกหน่วยงาน
เพื่อการเฝ้าระวัง และร่วมดำเนินกิจกรรมร่วมกับปศุสัตว์และสาธารณสุข
10. สร้างการรับรู้และประสานผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพิษสุนัขบ้ามาเสริมความรู้ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะเด็ก
นักเรียนและผู้อาวุโส หลีกเลี่ยงการถูกกัด/สัมผัส ตลอดจนติดตามผู้ถูกกัด/สัมผัส
ให้ได้รับการดูแลตามเวชปฏิบัติอย่างสมบูรณ์
11. ควบคุมประชากรสุนัขและแมว
โดยระเบียบ/ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติการเลี้ยงสัตว์
ที่จะไม่ให้สัตว์เลี้ยงสร้างความรำคาญ/เดือดร้อนแก่เพื่อนบ้านหรือประชาชนทั่วไป
ในฐานะ อสม.,
อสป. (เครือข่าย)
1.
ทำหน้าที่สำรวจและขึ้นทะเบียนประชากรสัตว์เลี้ยง
โดยเฉพาะสุนัขและแมว
2.
เป็นผู้ช่วยสัตวแพทย์และสาธารณสุขในการสร้างภูมิคุ้มป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงและช่วยค้นหาผู้สัมผัส/ถูกกัดข่วนโดยสัตว์ที่สงสัย
3.
ให้คำแนะนำประชาชนร่วมเฝ้าระวัง
4.
ร่วมเป็นหน่วยเฉพาะกิจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
มาตรการด้านการป้องกัน
|
สัตวแพทย์
|
สาธารณสุข
|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
ประชาชน/ผู้เลี้ยงสัตว์
|
1.
สร้างภูมิคุ้มโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงในพื้นที่
|
-อบรมให้ความรู้เรื่องเทคนิคการฉีดวัคซีน/มอบหมายเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน
-ควบคุมวัคซีนให้มีคุณภาพสูงสุด
|
-Pre-exposure
ในคนกลุ่มเสี่ยง (คนจับสุนัข สัตวแพทย์ อสม.)
|
-สำรวจ/ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง
-ประสานเครือข่ายเจ้าหน้าที่/อาสาเป็นผู้ช่วยสัตวแพทย์โดยฉีดวัคซีน
-บริหารจัดการให้มีวัคซีนบริการ
|
-ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องตามกำหนดในพรบ.
โรคพิษสุนัขบ้า 2535
|
2.
การเฝ้าระวัง/หลีกเลี่ยงการถูกสัตว์กัด
|
|
|
สร้างการรับรู้แก่ประชาชนและให้ข้อมูลข่าวสารด้านโรคพิษสุนัขบ้า
|
-ท่องและปฏิบัติตามคาถา 5 ย.หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือถูกสัตว์ข่วนกัด
-ให้ความร่วมมือเลี้ยงสุนัขในบริเวณบ้าน
และมีสายจูงหากจำเป็นต้องอยู่นอกบ้าน
|
3.
การปฏิบัติหลังถูกกัด
|
สั่งกักสัตว์
10
วัน ตายส่งตรวจ
|
ติดตามผู้สัมผัสทุกรายให้มารับการดูแลตามปฏิบัติเวช
|
|
-กักขังดูอาการสุนัข 10 วัน
-หาหมอ ฉีดยาให้ครบ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น